วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

..พาเที่ยว แม่น้ำบางนรา, นราธิวาส

ขอบคุณ : Clip จากรายการ เจอร์นี


สัมผัสวิถีชาวใต้ ในถิ่นคนดีที่นราธิวาส   แม่น้ำบางนรา อ.เมือง จังหวัด นราธิวาส








วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เที่ยว เมือง "นราธิวาส"


ทักษิณราชตำหนัก ชนรักศาสนา นราทัศน์เพลินตา
ปาโจตรึงใจ แหล่งใหญ่แร่ทอง ลองกองหอมหวาน 



สนามบินนราธิวาส
ศาลหลักเมือง จังหวัดนราธิวาส


....คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า...หลายๆคน.. ที่รู้จัก จังหวัดนราธิวาส ก็เพราะเรื่องราว ข่าวคราวความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่คนร้ายพยายามก่อเหตุเข่นฆ่าชาวบ้านไม่เว้นแต่ละวัน....

        แต่น้อยคนนัก ที่จะรู้ว่าสิ่งที่ซ่อนอยู่ด้านหลังของเรื่องราวร้ายๆ เหล่านั้น คือ ภูมิประเทศที่สวยงาม วัฒนธรรมโบราณมากมาย มีธรรมชาติที่สวยงามสมบูรณ์ ศูนย์รวมศาสนา และที่สำคัญที่สุดคือ..ความเรียบง่ายในวิถีชีวิตของผู้คนท้องถิ่นที่น่ารักเป็นมิตร ....บางครั้งก็นึกไปว่า หรือเพราะว่า มีเรื่องร้ายๆ จากความไม่สงบ จึงทำให้จังหวัด ที่สวยงามจังหวัดนี้ ยังคงความสมบูรณ์ของธรรมชาติ เนื่องจาก..เหล่าบรรดานายทุน คนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวนั้น ไม่มีความกล้ามากพอที่จะมาลงทุน ทำธุรกิจ หรือ เอารัดเอาเปรียบคนที่นี่...ความเจริญด้วยวัตถุนิยม เลยยังมาไม่ถึง..คนในท้องถิ่น จึงยังคงใช้ชีวิตอย่างเรียบๆ ง่ายๆ พออยู่ พอกิน แบบที่ไม่เห็นในเมืองหลวง เมืองใหญ่ 

หลายๆจังหวัดที่คนเมืองหลวง เมืองใหญ่ พยายามที่จะหาเวลาเดินทางไป พักผ่อน โดยเน้นธรรมชาติ และ วัฒนธรรมท้องถิ่นเก่าๆ โหยหาอดีตที่คุ้นเคย...อย่างเช่น ปาย , เชียงคาน , น่าน  ที่ตอนนี้ เริ่มเปลี่ยนไปจากนายทุน และ สิ่งก่อสร้างใหม่ๆ ที่เป็นธุรกิจ มากกว่าที่จะทำเพื่อ อยู่ร่วมกับธรรมชาติที่แท้จริง ที่เป็นอยู่เดิมๆ 

        ครั้งนี้..จึงเป็นครั้งแรกที่ผู้เขียน ได้เดินทางลงพื้นที่ "นราธิวาส" ความจริง ก็ไม่น่ากลัวอย่างที่เคยได้ยินมา กลับรู้สึกถึง กลิ่นอายความเป็นชนบทที่เดิมๆ เงียบ สงบ เรียบง่าย แบบคนต่างจังหวัดของไทยทั่วไป บ้านเมือง วัดวาอาราม  คนท้องถิ่น ก็ยังเดินทางใช้ชีวิตปกติ    เด็กๆ ยังเดินทางไปโรงเรียน พ่อแม่ไปส่งที่โรงเรียน ชาวบ้านไปตลาดสด พระบิณฑบาตตามถนน ผู้คนยังดูขวักไขว่ ไม่ได้ดูหวาดระแวง หรือ กลัวจนไม่กล้าออกจากบ้านเลยอย่างที่ใครๆ คิดกัน ... ขอให้สันติสุขจงกลับมาเร็ววันด้วยเทอญ ! 
        


ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นขุนละหาร



พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นขุนละหาร อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส
           ถึงจะเป็น พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่เปิดทำการเพียงไม่นาน แต่ก็มีหลักฐาน และ ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ภาคใต้มากมาย นับว่าเป็นความพยายามที่ทำเพื่อท้องถิ่นอย่างแท้จริง จากการ พูดคุยกับ ผู้ใหญ่ รัศมินทร์  นิติธรรม ผู้ก่อตั้ง และยังดำรงตำแหน่งผู้นำท้องถิ่นอีกด้วย ได้บอกกับผู้เขียนว่า..... มีแนวความคิดเพื่ออนุรักษ์ และสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น ความเป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมของชุมชน และ ถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชนและสังคม ซึ่งทุกๆวันจะมีผู้เข้ามาชมอย่างสม่ำเสมอ ทั้งโรงเรียนนำเด็กๆ มาชม หน่วยราชการต่างๆ และผู้ที่สนใจวัฒนธรรมท้องถิ่น  ขนาดของพื้นที่โดยรวมนั้นไม่ใหญ่โต เหมือนพิพิธภัณฑ์ทั่วไป เนื่องจากเป็นบ้านของผู้ใหญ่ นำมาก่อสร้างเพิ่มเติม แต่ของภายในทรงคุณค่าต่อท้องถิ่นอย่างมากมาย          สถานที่จัดแสดงนั้น ก็แบ่งเป็นห้องจัดแสดงเพื่อ ง่ายต่อการเข้าชมของผู้เยี่ยมชม และง่ายต่อการจัดแสดงด้วย

ดะวะห์ ดัดตน



ดะวะห์ ดัดตน


เป็นการออกกำลังกายของ กลุ่มดะวะห์ ในเวลาก่อนนอนในอดีต เพื่อให้เลือดลมไหวเวียนดี และมีสุขภาพที่แข็งแรง ซึ่งในปัจจุบันนี้ วิชาต่างๆเหล่านี้เริ่มที่จะสูญหายไป เพราะว่าไม่มีการถ่ายทอด และจดบันทึก และในปัจจุบันนี้หาคนทำได้น้อยมาก  
ว่าววงเดือน
"ว่าว วงเดือน"
  
ว่าว วงเดือน” หรือ ที่คนในท้องถิ่น เรียกว่ "วาบูแล" เล่นกันอย่างแพร่หลายในจังหวัดภาคใต้ ตามตำนานในสมัยก่อน เล่าสืบต่อกันมาว่า ว่าววงเดือนเป็นของเล่นเทวดา (แดวอมูดอ) โดยผู้ที่ให้ว่าว แก่ แดวอมูดอ คือ พระบิดา ของพระราม (รายอสรามอ) ชื่อ ซีระห์มะห์รายอ จึงทำให้ว่าววงเดือนมีรูปเทวดา 
    ทั้งนี้ ว่าววงเดือน มีหลายชนิดมีหลายรูปแบบ และมีการเล่นกันแพร่หลายในพื้นที่ภาคใต้ของไทย แต่ในพื้นที่ 3 จังหวัด จะมีการเน้นความสวยงาม รวมทั้งประเภท ที่มีเสียงดัง ประเภทลอยขึ้นสูง ที่สำคัญปัจจุบันมีการจัดทำเพื่อจำหน่ายในรูปแบบของที่ระลึกอีกด้วย 







รูปแบบชื่อ และความหมายของดอก ลายลังกาสุกะ
ลังกาสุกะ
          พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับวันวลิต ระบุว่า ลังกาสุกะ อยู่ห่างจากเมืองปัตตานี สมัยนั้น (บ้านกรือเซะ อ.เมืองปัตตานี) ไปทางตอนเหนือของลำน้ำปัตตานี คือ บริเวณเมืองโบราณ ที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ใน ปัจจุบัน ลังกาสุกะ ในสมัยนั้นเป็นเมืองท่าอิสระ ดูแลเส้นทางการค้าจากตะวันออก ไปยังตะวันตก ผ่านทางคอคอดกระ การเป็นเมืองท่าค้าขายทางทะเล ทำให้ ลังกาสุกะมีความสัมพันธ์กับชนต่างถิ่น ต่างเชื้อชาติ ต่างศาสนา ต่างภาษา มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม รับเอาอารยธรรม ฮินดู-ชวา หรือ ฮินดู-พุทธ เข้ามาในสังคมมลายู ก่อนจะรับเอาอารยธรรมอิสลาม เข้ามาในเวลาต่อมา 
ลังกาสุกะ เป็นเมืองหนึ่งที่มีความเจริญทางด้านศิลปะ วัฒนธรรมมีมาเป็นพันปีแล้ว ตำนานเล่าขานว่า ลังกาสุกะ ก่อตั้งขึ้น โดยมีช้าง และ กริช เป็นหลัก ความเชื่อว่า เมืองนี้เป็นเมืองที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชผล และมีความปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ  ประชาชนอยู่อย่างมีความสุข สมกับชื่อที่ว่า สุกะ  (สุขะ) เมืองที่มีความสุข 
ความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศิลปะที่ประณีต เช่น หัวกริชวาด (กริชจอแต็ง) ดอก เป็นดอกลายมลายูโบราณที่มีมาแต่สมัย ลังกาสุกะ ซึ่ง ช่างแกะสลักนั้น จะใส่ความหมาย และจิตวิญญาณ สร้างกระแสจิต สมาธิแน่วแน่ จึงเกิดเป็นลายที่มีจิตวิญญาณขึ้น ประกอบกับที่ ลวดลายต่างๆนั้น ล้วนมีความหมายในตัวมันเอง เสมือนสิ่งมีชีวิตที่สถิต อย่างพิสดา


  ข้าวของเครื่องใช้โบราณภายในพิพิธภัณฑ์

         
      กอแฆ (กระต่ายขูดมะพร้าว)
ถ้วยชามโบราณ
เครื่องประดับทองเหลือง เจ้านายโบราณ
ของเล่นโบราณ ของผู้ใหญ่รัศมินทร์

           ภายในบริเวณพิพิธภัณฑ์





















  


"จาปิ้ง"

"จาปิ้ง"
เรือกอและ ส่วนใหญ่ใช้ในการประมงใน 3 จังหวัดภาคใต้ โดยนำออกไปทำการประมงในทะเล และนิยมทำเป็นพวก ๆ พวกละ ๕-๖ ลำ นอกจากนี้ยังใช้สำหรับแข่งขันโดยใช้ฝีพาย หรือใช้ใบก็ได้  ทุกครั้งที่จะออกเรือ
    ก่อนขึ้นเรือชาวประมงจะให้ความเคารพเรือกอและ ของตนโดยการถอดรองเท้าทุกครั้ง และ เมื่อเรือจอดอยู่บนฝั่งก็ห้ามผ่านใกล้ ๆ หรือเล่นบริเวณหัวเรือ ไม่พูดจาเชิงอวดดี หรือพูดในสิ่งที่ไม่เป็นมงคล เพราะเชื่อว่ามีพระเจ้า หรือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ให้ความคุ้มครองเรือ สิงสถิตอยู่ที่หัวเรือบริเวณ "จาปิ้ง" นับได้ว่าเรือกอและ เป็นเรือในจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ซึ่งใช้ในการประมงทางทะเลของชาวประมงมุสลิมในจังหวัดภาคใต้ นับว่าเป็นเรือที่แปลกตาและหาดูได้ยากในจังหวัดอื่นๆ





"รือบับ"
"รือบับ"
รือบับ คือเครื่องดนตรีการละเล่นมะโย่ง มีลักษณะคล้ายซอ สายของไทย 



เครื่องแต่งกายการละเล่นมะโย่ง











การแสดงมะโย่งจังหวัดปัตตานี 
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลเจ้าเกล้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) 
ขอบคุณที่มา : http://www.oknation.net/blog/yongyoot/2007/08/22/entry-1
มะโย่ง มะโย่ง   เป็นสำเนียงภาษามาลายูถิ่นปัตตานี  หรือ มะโย่ง  ที่เรี่ยกกันทั่วไป   เป็นศิลปะการร่ายรำที่ผสมผสานทางพิธีกรรมความเชื่อ  การละคร  นาฏศิลป์  และดนตรีเข้าด้วยกัน   จัดเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านชั้นเลิศของวัฒนธรรมท้องถิ่นมลายู  โดยเฉพาะแถบชายแดนใต้ของไทย  ได้แก่  ปัตตานี  ยะลาและนราธิวาส               



มะโย่ง เดิมทีในสมัยโบราณ ใช้แสดงในการประกอบพิธีกรรม บูชาขวัญข้าว (ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว)  งานแก้บนสะเดาะเคราะห์  งานประเพณีเฉลิมฉลอง และ งานรื่นเริงต่างๆ  เช่น แต่งงาน  งานเข้าสุนัต   งานเมาลิต  งานฮารายา  งานเทศกาลประจำปีของจังหวัด  งานต้อนรับบุคคลสำคัญระดับประเทศ แต่ในปัจจุบันงานเหล่านี้ไม่มีการแสดงมะโย่งแล้ว  
      มะโย่ง แสดงในโรงที่สร้างขึ้นอย่างง่ายๆ เล่นประกอบกับ ดนตรี  ได้แก่ รือบับ คล้ายซอ3สายของไทย คัน ฆง หรือ ฆ้องขนาดใหญ่  1 คู่ กึนดึงมลายู หรือ กลองมลายู 1 คู่  จือเเระ หรือ กรับอย่างน้อย 2 คู่


กริชโบราณ


กริช เป็นคำในภาษาชวา - มลายู ส่วนในภาษาถิ่นยะลา เรียกว่า "กรือเระฮ์" เนื่องจากกริชมีความเกี่ยวข้องกับชาวชวา ในสมัยโบราณที่เชื่อในเทพเจ้า ลักษณะของ   ด้ามกริช  มักจะทำเป็นรูปสัตว์ในเทพนิยายของชวา และไม่ขัดกับหลักทางศาสนาอิสลาม
กริช..เป็นเครื่องบ่งบอกถึงความ เป็นชายชาตรี บ่งถึงฐานะทางสังคม ฐานะทางเศรษฐกิจ และยศฐาบรรดาศักดิ์ ของผู้เป็นเจ้าของหรือของตระกูลโดยเฉพาะการใช้กริช ในภาคใต้ตอนล่างนิยม อย่างแพร่หลายทั้งไทยพุทธและมุสลิม มีความเชื่อและ เกี่ยวพันกับวัฒนธรรมอื่นๆ 
ความนิยมนั้นเพิ่งเลิกราไปเมื่อทางราชการประกาศ ให้ถือว่ากริช เป็นอาวุธที่ห้ามพากพาในที่ชุมชน กริช เป็นมีดสั้นแบบหนึ่ง ใบมีดคดแบบลูกคลื่น เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในหมู่ผู้คนในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย  และบางจังหวัดทางภาคใต้ของไทย กริชนั้นเป็นทั้งอาวุธและวัตถุมงคล บ่งบอกถึงเหตุดีร้ายในชีวิตได้ ปัจจุบันยังนิยม สะสมเป็นของเก่าที่มีคุณค่าสูง 








ระเพณีการแห่นก เป็นประเพณีการทางพื้นเมืองของจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะที่นราธิวาส ซึ่งได้มีการกระทำสืบเนื่องกันมาเป็นเวลานาน เป็นประเพณีนิยมที่ไม่เกี่ยวข้องกับทางศาสนา ไม่เป็นประเพณีตามนักขัตฤกษ์ แต่จัดขึ้นเป็นครั้งคราวตามโอกาส เพื่อความสนุกรื่นเริง เป็นการแสดงออกเกี่ยวกับการใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ในศิลปะและอาจจัดขึ้นในการแสดงความคารวะ แสดงความจงรักภักดี แก่ผู้ใหญ่ที่ควรเคารพนับถือ หรือในโอกาสต้อนรับแขกเมือง บางทีอาจจัดขึ้นเพื่อความรื่นเริงในพิธีการเข้าสุนัต หรือที่เรียกว่า "มาโซยาวี" หรือจัดขึ้นเพื่อประกวดเป็นครั้งคราว นกที่นิยมทำขึ้นเพื่อการแห่มีเพียง ๔ ตัว คือ

  • ๑. นกกาเฆาะซูรอหรือ นกกากะสุระ นกชนิดนี้ตามสันนิษฐานคือ "นกการเวก" เป็นนกสวรรค์ที่สวยงามและบินสูงเทียมเมฆการประดิษฐ์มักจะตบแต่งให้มีหงอนสูงแตกออกเป็น ๔ แฉก นกชนิดนี้ชาวพื้นเมืองเรียกว่า "นกทูนพลู" เพราะบนหัวมีลักษณะคล้ายบายศรีพลู และมีการทำให้แปลกจากนกธรรมดา เพราะเป็นนกสวรรค์
  • ๒. นกกรุดา หรือ นกครุฑ มีลักษณะคล้ายกับครุฑ เชื่อกันว่านกชนิดนี้มีอาถรรพ์ ผู้ทำมักเกิดอาเพศ มักเจ็บไข้ได้ป่วย ในปัจจุบันจึงไม่นิยมจัดทำนกชนิดนี้ ในขบวรแห่
  • ๓. นกบือเฆาะมาศ หรือนกยูงทอง มีลักษณะคล้ายกับนกกาเฆาะวูรอ มีหงอน สวยงามเป็นพิเศษ ชาวไทยมุสลิมยกย่องนกยูงทองมาก และไม่ยอมบริโภคเนื้อ เพราะเป็นนกที่รักขน การประดิษฐ์ตกแต่งรูปนกพญายูงทองนั้น จึงมีการตกแต่งที่ประณีตถี่ถ้วนใช้เวลามาก
  • ๔. นกบุหรงซีงอ หรือนกสิงห์ มีรูปร่างคล้ายราชสีห์ ตามคตินกนี้มีหัวเป็นนก แต่ตัวเป็นราชสีห์ ปากมีเขี้ยวงาน่าเกรงขาม


ที่มาจากเว็ป : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=abird&month=07-07-2012&group=49&gblog=79


สามารถติดตามความเคลื่อนไหว และ ให้กำลังใจ ผู้ก่อตั้ง พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นขุนละหาร ได้ที่  ลิ้งค์ นี้นะคะ  https://www.facebook.com/Khun-Laharn-Local-Museum